การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมรูปแบบลวดลาย ผ้าไทยวนในกลุ่มภาคเหนือตอนบนเชิงศิลปกรรมและอนุรักษ์ เพื่อพัฒนาสื่อดิจิตอลลวดลายผ้าไทยวนสร้างสรรค์ สืบสานและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น นำไปใช้ส่งเสริมการออกแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและประเมินผลความพึงพอใจในการสร้างสื่อดิจิตอลลวดลายผ้าไทยวนสร้างสรรค์ กลุ่มเป้าหมายคือ นักปราชญ์ชุมชน ผู้ประกอบการนักวิชาการ ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยและพัฒนาสื่อดิจิตอล โดยเก็บข้อมูลจากสัมภาษณ์อัตลักษณ์ของลวดลายผ้าไทยวน และสอบถามความพึงพอใจในสื่อดิจิตอลลวดลายผ้าไทยวน จำนวน 135 ลาย ทดลองการใช้งานผลิตภัณฑ์สิ่งทอท้องถิ่น เป็นข้อมูลในครั้งนี้
ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มชาติพันธ์ไทยวน จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ได้ทำการวิเคราะห์ลวดลายผ้าโบราณที่มีความเหมาะสมนำมาทำสื่อดิจิตอล คือลวดลายแม่แบบผ้าไทยวนอำเภอแม่แจ่ม 16 ลาย ลวดลายแม่แบบผ้าไทยวนอำเภอดอยเต่า 10 ลาย และผ้าไทยวนราชสำนักเชียงใหม่ 4 ลาย รวบรวมลวดลายที่ใช้ในพิธีการ พิธีกรรม ผ้าไทยวนที่ใช้เป็นเครื่องแต่งกายและใช้ในงานเคหะสิ่งทอ จำแนกลวดลายได้จากลวดลายทรงเรขาคณิต ลายพรรณพฤกษา ลายรูปสัตว์และลายในพิธีกรรม จากแหล่งวัฒนธรรมที่มีความเป็นต้นแบบและคัดเลือกลวดลายที่เป็นแม่ลายต้นฉบับ เพื่อนำมาทำสื่อดิจิตอลลวดลายผ้าไทยวนสร้างสรรค์โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ทางด้านกราฟิกเพื่อแปลงรูปภาพให้เป็นภาพกราฟิกแบบ (Vector) เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการออกแบบ โดยทำคู่มือประกอบการใช้งาน เพื่อให้ผู้ใช้มีจินตนาการและตระหนักในคุณค่าของลวดลายผ้าไทยวน
ความพึงพอใจในสื่อดิจิตอลลวดลายผ้าไทยวนสร้างสรรค์ อยู่ในเกณฑ์ดีมาก เนื่องจากความง่ายต่อการนำลวดลายไปใช้ในงานออกแบบ ประยุกต์ดัดแปลง เปลี่ยนสีสันให้เป็นไปตามลักษณะรูปแบบของงานออกแบบได้โดยไม่ยาก ทำให้เป็นที่ชื่นชอบของผู้ที่นำไปใช้เกิดการสร้างสรรค์อย่างไม่รู้จบเป็นการต่อยอดลวดลายผ้าไทยวนให้คงอยู่ คู่กับสังคมล้านนามีอิทธิพลต่อสื่อและภาพลักษณ์ของเยาวชนลูกหลายในอนาคตได้เป็นอย่างดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น