วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2559

........หากวัฒนธรรม...........ไม่สามารถนำมาใช้ได้ และเก็บอยู่บนหิ้ง จะมีประโยชน์อันใด .............

........หากวัฒนธรรม...........ไม่สามารถนำมาใช้ได้ และเก็บอยู่บนหิ้ง จะมีประโยชน์อันใด .............
ลูกหลานเรา จะเรียนรู้แต่สิ่งที่จับต้องไม่ได้ .......... เอาวัฒนธรรมมาใช้สิ.....ต้องใช้ เพื่อไม่ให้มันหายไป
จะดีบ้าง ผิดบ้าง .......... มันก็ยังได้ใช้ ............ ไม่มีใคร ไม่เคยนุ่งเสื้อกลับด้าน .......



การศึกษาเพื่อนำทุนทางวัฒนธรรมองค์ความรู้ภูมิปัญญาลวดลายล้านนาสร้างสรรค์ และออกแบบผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ประกอบการท้องถิ่น

                  การศึกษาการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและนำทุนทางวัฒนธรรมมาสร้างองค์ความรู้ ภูมิปัญญาลวดลายล้านนาสร้างสรรค์ และออกแบบผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ประกอบการท้องถิ่นเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ  ศึกษาความต้องการของผู้ประกอบการทางด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์  รวบรวมข้อมูล สร้างเรื่องราวผลิตภัณฑ์ นำลวดลายล้านนาสร้างสรรค์ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชน  ประเมินความพึงพอใจรูปแบบผลิตภัณฑ์ ใช้วิธีการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ ผู้เชี่ยวชาญ นักออกแบบ ผู้ประกอบการ จำนวน 9 คน ขั้นตอนการวิจัยโดยใช้ ลวดลายล้านนาสร้างสรรค์และกระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ที่ไม่มีโครงสร้างและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า การนำทุนทางวัฒนธรรมลวดลายล้านนาสร้างสรรค์ทำการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้กับกลุ่มผู้ประกอบการจำนวน 3 ราย ได้แก่ บัวผินผ้าฝ้าย  สอาดผ้าฝ้ายและหม่อนฝ้ายคัดเลือกลวดลายล้านนาสร้างสรรค์  โดยใช้หลักการจัดวางลวดลายองค์ประกอบทางศิลปะร่วมกับกระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอ  ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการออกแบบสามารถแยกได้ดังนี้  บัวผินผ้าฝ้ายผลิตภัณฑ์คัดเลือกเป็นกางเกงทรงหลวมสำหรับชายและหญิง  สามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ (Unisex)  สอาดผ้าฝ้ายผลิตภัณฑ์ที่คัดเลือกเป็นเสื้อตัวหลวมและชุดเดรสสั้น (Posterlike Dress & Princess Dress) สามารถสวมใส่ได้หลายโอกาส   หม่อนฝ้ายผลิตภัณฑ์ที่คัดเลือกเป็นเสื้อคลุมสวมทับ เพื่อเสริมบุคลิก (Soft Suite or Jacket) สามารถสวมใส่ได้หลายโอกาส  โดยใช้หลักการพิจารณาในการจัดวางลวดลายและออกแบบผลิตภัณฑ์ 3 ประเด็นคือ ด้านความงามทางศิลปะ, ด้านการถ่ายทอดอัตลักษณ์ และคุณค่าการนำไปใช้งาน  จากการออกแบบและทดสอบตลาด  พบว่าเสื้อคลุมชาย  ได้รับความพึงพอใจในด้านคุณค่าและการนำไปใช้งานมากที่สุด ส่วนด้านความงามทางศิลปะ   เป็นสินค้าที่ควรค่าแก่การนำสู่ตลาดสากลคือชุดเดรส  กางเกงทรงหลวม สามารถถ่ายทอดอัตลักษณ์เด่นเฉพาะตัวให้เห็นคุณค่าของลวดลายล้านนาโบราณสร้างสรรค์