การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสื่อดิจิตอลลวดลายล้านนาและสืบสานอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและรวบรวมข้อมูล
รูปแบบลวดลายล้านนา ภายในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียงเชิงศิลปกรรมและอนุรักษ์ เพื่อประเมินความพึงพอใจในสร้างสื่อดิจิตอลลวดลายล้านนา
ที่มีความ
สัมพันธ์กับอาณาจักรล้านนาทั้งก่อนก่อตั้งอาณาจักรล้านนา ศิลปะยุคทอง
ยุคถูกปกครองโดยพม่าและยุคประเทศราชของสยามในเชิงศิลปกรรมและการอนุรักษ์และนำลวดลายที่ได้นำมาสร้างสื่อดิจิตอลลวดลายล้านนาเพื่อสืบสานอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยมีกลุ่มประชาชนคือนักวิชาการ
ผู้ประกอบการด้านการใช้สื่อดิจิตอล นักออกแบบ เครื่องที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นการสำรวจพื้นที่จริง เพื่อถ่ายภาพรวมทั้งแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม
ผลจากการทำวิจัยพบว่า ลวดลายล้านนามีความสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ล้านนาตั้งแต่ก่อนก่นตั้งจนถึงยุคประเทศราชของสยามประเทศ พบว่ามีความสัมพันธ์ทั้งหมด 16 วัด และทำการด้านคัดกรองด้านเหตุผล 2ประการคือ
ไม้เหลือลวดลายล้านให้อ้างอิงวิจัยและ
มีการบูรณะปฏิสังขรจนเสียความเป็นพื้นฐานลวดลายล้านนาดั้งเดิม
ได้วัดทั้งหมดที่ความสวยงามเป็นชั้นหนึ่งจำนวน 9
วัด
ประกอบด้วยลวดลายที่เป็นลวดลายดั้งเดิมและทำการคัดเลือก แบ่งประเภทลวดลาย ให้เหมาะกับการนำไปใช้งานได้ 3
ประเภทได้แก่ ลวดลายมงคล ลวดลายใช้เฉพาะที่ ลวดลายที่ควรพิจารณาก่อนการนำไปใช้งาน จากนั้นจึงการนำเอาลวดลายที่ได้มาสร้างเป็นสื่อดิจิตอล
นักออกแบบกราฟฟิก นักวิชาการ ได้ผลปรากฏว่าผู้ประกอบการต้องการให้ทำลวดลายมากขึ้นกว่าเดิมละเอียดมากขึ้น มีคำอธิบายการใช้งานมากขึ้น นักออกแบบต้องการลวดลายที่หลากหลายมากขึ้น และเนื่องด้วยลวดลายล้านนาดิจิตอลมีความง่ายต่อการใช้งาน
สามารถใช้ในคอมพิวเตอร์ได้อย่างหลากหลาย
ทั้งงานเอกสารและงานกราฟฟิกในขณะที่คุณภาพของลวดลายอยู่ในเกณฑ์ใช้งานได้ดีเป็นการต่อยอดลวดลายล้านนาให้อยู่กับดินแดนล้านนาสร้างสำนึกกับชาติพันธุ์ได้ดีด้วยการแปลงลวดลายล้านนาที่มีอยู่ในวัดมาเป็นสื่อดิจิตอลที่ทันสมัยและอยู่ใกล้กับบุคคลมากขึ้น ส่งเสริมการใช้งานอย่างกว้างขวางในอนาคต
http://issuu.com/suebsagul/docs/digital_04